Print this page

โครงการป้องกันโรคไขเลือดออกในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี

วันจันทร์, 25 กรกฎาคม 2565 12:24

เมื่อวันที่25 กรกฎาคม 2565 เทศบาลตำบลท่าช้าง นำโดย นายประสิทธิ์  บุญแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลท่าช้าง นายประดิฐ์ ภาระวงศ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลท่าช้าง  นายประสิทธิ์ สายกนก เลขานุการ นายบัณฑิต  ศรีโนนซี หัวหน้าสำนักปลัด และ ข้าราชการพนักงานเทศบาล ได้จัดลงพื้นที่ให้มีการฉีดพ่นหมอกควัน เพื่อกำจัดยุ่งลายป้องกันการระบาดของไขเลือดออก  ตามโครงการป้องกันโรคไขเลือดออกในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าช้าง

   วิธีป้องกันและควบคุมป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายยุงลายมักจะกัดคนในเวลากลางวัน ควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงเข้ามาในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น ทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป ยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใส ในภาชนะที่เก็บน้ำใช้ในบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ถ้วยรองขาตู้กันมด แจกันดอกไม้ ภาชนะนอกบ้านที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายกระทำได้โดย ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำต้องมีฝาปิดให้มิดชิด ทำลายภาชนะที่ไม่จำเป็น เพราะอาจมีน้ำขังได้ ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูงในภาชนะที่มีน้ำขังขนาดใหญ่ เช่น อ่างบัว เปลี่ยนน้ำในภาชนะเล็ก ๆ เช่น แจกันทุก 7 วัน ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและรอบบ้านให้เป็นระเบียบ